เรื่องน่ารู้ระบบท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ ปลอดภัย & เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ก่อนการยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ เจ้าของโครงการต้องดำเนินการ ดังนี้ 1. เจ้าของโครงการต้องจัดรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการเพื่อแจ้งข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการให้ประชาชนได้รับทราบและมีโอกาสแสดงความเห็นต่อโครงการ เช่น แนวการวางท่อ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุดวิธีการวางท่อ มาตรการลดผลกระทบที่เกิดจากโครงการฯ เป็นต้น และต้องนำข้อห่วงกังวล หรือข้อเสนอแนะมากำหนดเป็นมาตรการ เพื่อลด/บรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ โดยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและมาตรการฯ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำรายงาน EIA/ER 2. จัดทำรายงาน EIA เสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (สผ.) ให้ความเห็นชอบ/ER เสนอ ธพ. พิจารณาให้ความเห็นชอบโดยมีหน่วยงานกำกับร่วมพิจารณาความเหมาะสมของโครงการให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดตามอำนาจหน้าที่ อาทิ กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) 3. นำ EIA/ER ที่ได้รับความเห็นชอบประกอบการพิจารณายื่นขอรับใบอนุญาตต่อ ธพ. 4. เมื่อก่อสร้างท่อก๊าซธรรมชาติแล้วเสร็จต้องดำเนินการทดสอบตามมาตรฐานสากลที่กฎหมายกำหนดเช่น การตรวจสอบการรั่วซึมของระบบท่อและอุปกรณ์ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ และการตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย เป็นต้น โดยดำเนินการก่อนการใช้งานและระหว่างการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ รวมถึงการบำรุงรักษาระบบท่อก๊าซธรรมชาติเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลกำหนดตลอดอายุการใช้งาน 5. เจ้าของโครงการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการและจัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตราการตามที่รายงาน EIA หรือ ER ที่ได้รับความเห็นชอบกำหนดต่อหน่วยงานอนุญาต รวมถึงได้ทำการทดสอบและตรวจสอบรวมถึงการบำรุงรักษาท่อก๊าซธรรมชาติ เพื่อใช้ประกอบการต่ออายุใบอนุญาตต่อไป […]

วิธีป้องกัน-รับมือภัยใกล้ตัว ก่อน “ถังก๊าซรั่ว” จนไหม้หรือระเบิด

ปภ.แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG อย่างถูกวิธี ป้องกันภัยใกล้ตัวก๊าซรั่วจนเกิดไฟไหม้หรือระเบิด ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงที่บ้านและร้านอาหารนิยมใช้ประกอบอาหาร เนื่องจากใช้งานง่ายและสะดวกสบาย แต่มีคุณสมบัติไวไฟจะติดไฟอย่างรวดเร็ว หากอุปกรณ์ถังก๊าซอยู่ในสภาชำรุด ผู้ใช้งานประมาทและขาดความระมัดระวัง จะเสี่ยงต่อการระเบิดและเพลิงไหม้ได้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธีและปลอดภัยไว้ ดังนี้ การเลือกใช้ถังก๊าซ ถังก๊าซ มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรับรองคุณภาพมีซีลปิดผนึกที่หัวถังในสภาพสมบูรณ์ พร้อมหมายเลขถังกำกับ และมีข้อความระบุชื่อบริษัท เดือน ปีที่ตรวจสอบถังครั้งสุดท้าย น้ำหนักถัง และน้ำหนักบรรจุอย่างชัดเจน รวมถึงตัวถังไม่มีรอยบุบ บวม หรือเป็นสนิท สายนำก๊าซ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซหุงต้ม ไม่ทำจากยางหรือพลาสติก เพราะเมื่อถูกก๊าซหุงต้มจะละลาย ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ ที่สำคัญ ต้องไม่หักงอง่ายทนต่อแรงดันและการขูดขีด สามารถต่อกับลิ้นเปิด – ปิดได้สนิทและแน่นหนา เหล็กรัดสายยางส่งก๊าซ ต้องเลือกใช้ชนิดที่ไม่เป็นสนิม มีความแข็งแรงทนทาน และควรเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ 2 ปี วิธีป้องกันเหตุรั่วไหล -หมั่นตรวจสอบเตาแก๊สและถังก๊าซให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ห้ามเปลี่ยนอุปกรณ์หรือแก้ไขด้วยตนเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ -ใช้งานก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี ไม่เปิดเตาแก๊สติดต่อกันหลายครั้ง ปิดวาล์วถังก๊าซทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อป้องกันก๊าซสะสมจำนวนมาก หากมีประกายไฟในบริเวณดังกล่าว […]

ปิโตรเลียม ประโยชน์มากกว่าที่คิด

ทราบไหมว่าก๊าซธรรมชาติ นอกจากนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ และยังเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคนอีกด้วย ก๊าซธรรมชาติที่ขุดเจาะขึ้นมา นอกจากจะเข้าสู่กระบวนการเพื่อแยกก๊าซออกมาเป็นเชื้อเพลิงแล้ว ยังได้วัตถุดิบตั้งต้นสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และผ่านการแปรรูป จนได้วัสดุมากมายหลายกลุ่ม เช่น 1.กลุ่มพลาสติก ได้แก่– พลาสติกที่ใช้งานทั่วไป– พลาสติกที่ใช้งานวิศวกรรม ที่มีคุณสมบัติทนความร้อน ทนแรงกระแทกสูง– พลาสติกที่มีสมรรถนะสูง ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่ทนความร้อน ทนกรด ทนด่าง เป็นต้น 2.กลุ่มยางสังเคราะห์ 3.กลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ 4.กลุ่มสารเคลือบผิวและผลิตภัณฑ์กาว ก๊าซธรรมชาตินับเป็นสารตั้งต้นที่สามารถสร้างคุณค่าให้มากขึ้น โดยนำไปสู่การผลิตและแปรรูป มาเป็นของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมากมาย เช่น อุปกรณ์ชิ้นส่วนที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบทุกชนิด เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ปุ๋ย น้ำยาซักล้าง เป็นต้น ถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย

เคล็ด(ไม่)ลับ ใช้ก๊าซหุงต้มให้ปลอดภัย

ก๊าซหุงต้ม หนึ่งในอุปกรณ์สามัญประจำบ้านที่ต้องมีติดไว้เกือบทุกบ้าน แต่ก่อนที่จะเปิดเตาใช้งานทุกครั้ง ทุกท่านจะมั่นใจในความปลอดภัยได้แค่ไหน วันนี้ กระทรวงพลังงาน ขอนำเสนอ ‘เคล็ด(ไม่)ลับ ใช้ก๊าซหุงต้มให้ปลอดภัย’ มาฝากให้ทุกท่านได้นำไปปฏิบัติตามกันง่าย ๆ ดังนี้ ตัวถังต้องมีตราสัญลักษณ์เครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และมีการระบุน้ำหนักไว้อย่างชัดเจน รวมถึงตัวถังมีสภาพสมบูรณ์ บอกวันหมดอายุ และวันตรวจสอบคุณภาพถังครั้งล่าสุด วางถังแก๊สในบริเวณพื้นที่แสงแดดส่องไม่ถึง มีอากาศถ่ายเทสะดวก เป็นพื้นราบ และวางถังในแนวตั้ง เช็กสภาพภายนอกของถังให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นหัวปรับแรงดัน และหัววาล์ว ว่าไม่มีจุดชำรุด สามารถทดสอบได้โดยเปิดวาล์วถังแก๊ส แล้วหมุนไม่เกิน 2 รอบ หากได้กลิ่นก๊าซ ให้ระวังไม่ให้เปิดใช้ก๊าซ หมั่นตรวจสอบรอยรั่วของถังแก๊ส ด้วยการใช้น้ำฟองสบู่ลูบตามสายและจุดต่าง ๆ ของตัวถัง หากเห็นว่ามีฟองสบู่ฟูขึ้นมา แสดงว่ามีก๊าซรั่ว ให้รีบปิดวาล์วบนหัวถัง จากนั้นเปิดประตูและหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท หากต้องการเคลื่อนย้าย ไม่ควรกลิ้งหรือกระแทกถังแก๊สเด็ดขาด ให้ใช้วิธีการยก เมื่อก๊าซหมด ควรปิดวาล์วถังแก๊สให้สนิท และไม่ควรนำถังแก๊สไปให้สถานีบริการก๊าซ LPG หรือร้านค้าก๊าซเติมเอง ก่อนการเปลี่ยนถังแก๊ส ควรปิดเตาแก๊สรอบข้างให้หมดก่อน ควรเช็กสภาพสายยางก๊าซให้อยู่ในสภาพดี โดยปกติจะมีอายุการใช้งาน 3 ปี หากสายยางบวม […]

ก๊าซอุตสาหกรรมและเทคนิคการใช้งานอุปกรณ์อย่างปลอดภัย

1. ความสำคัญของการใช้ก๊าซอุตสาหกรรมอย่างปลอดภัยก๊าซอุตสาหกรรม เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ มีบทบาทสำคัญในงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท การใช้ก๊าซอย่างถูกต้องและปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันอันตรายจากแรงดันก๊าซหรือการรั่วไหลที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง 2. เทคนิคการใช้งานท่อบรรจุก๊าซอย่างถูกวิธี 3. เคล็ดลับเพื่อการใช้งานอุปกรณ์เสริมให้มีประสิทธิภาพ บทสรุปการใช้งานก๊าซอุตสาหกรรมและอุปกรณ์เสริมอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานก๊าซอย่างถูกวิธีและปลอดภัยในทุกสถานการณ์

3 ขั้นตอน การใช้ออกซิเจน ที่บ้านให้ปลอดภัย

ก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ รู้ก่อนใช้ ระวังขณะใช้ ดูแลหลังใช้ ปลอดภัยแน่ หลายสถานที่ หลายบ้าน เริ่มมีการนำถังออกซิเจนทางการแพทย์เข้ามาใช้ในพื้นที่อาศัยของตนเอง แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีรายละเอียดข้อที่ต้องรู้ก่อนใช้ ระวังขณะใช้ รวมถึงดูแลหลังการใช้ ถ้าผู้ใช้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ จะใช้ก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และปลอดภัย หลายคำถามชวนสงสัยโควิดและวัคซีน…ร่วมหาคำตอบได้ที่ “แชทชัวร์” คลิกเลย